site loader
site loader
02/08/2021 ไม่ต้องตกใจ สธ.เผยวิธีฉีดวัคซีน “ไฟเซอร์” เข้มข้น ต้องผสมน้ำเกลือก่อนฉีด 1 ขวดฉีดได้ 6 คน

ไม่ต้องตกใจ สธ.เผยวิธีฉีดวัคซีน “ไฟเซอร์” เข้มข้น ต้องผสมน้ำเกลือก่อนฉีด 1 ขวดฉีดได้ 6 คน

ไม่ต้องตกใจ สธ.เผยวิธีฉีดวัคซีน “ไฟเซอร์” เข้มข้น
ต้องผสมน้ำเกลือก่อนฉีด
1 ขวดฉีดได้ 6 คน

หลังจากการรับมอบไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสจากสหรัฐอเมริกาเรียบร้อย นพ.โอภาส​ การ​ย์​กวิน​พงศ์​ อธิบดี​กรมควบคุม​โรค​ ได้กล่าวถึง วัคซีน​ ไฟเซอร์  โดยระบุว่า วัคซีน​ไฟเซอร์​ ที่รับบริจาคมาจากสหรัฐ​อเมริกา​ 1.5 ล้านโดส ต้องเก็บในคลังวัคซีน​ที่กำหนดไว้ เนื่องจากการเก็บวัคซีนไฟเซอร์ จะต้องเก็บในอุณหภูมิ​ -​70 องศาเซลเซียส​ จากนั้นมีการสอนวิธีผสมการฉีดวัคซีน

ซึ่งวัคซีนนี้ไม่เหมือนกับวัคซีน​ที่เราเคยใช้ ทั้งแอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ และซิโนแวค ที่ดูดจากขวด 2-8 องศา​เซลเซียส​แล้วสามารถฉีดได้เลย แต่วัคซีนไฟเซอร์จะต้องเก็บอุณหภูมิ​ -​70 องศาเซลเซียส​ จากนั้นก็จะส่งไปยังหน่วยฉีดเพื่อเก็บที่อุณหภูมิ​ 2-8 องศาเซลเซียส​ ซึ่งวัคซีน​จะอยู่ได้ไม่นาน อายุอยู่ได้ราว 4 สัปดาห์ ฉะนั้นเวลานำมาจะต้องรีบใช้ และการใช้ก็จะแตกต่างกัน ต้องมีกรรมวิธีการผสม เนื่องจากเป็นวัคซีนเข้มข้น​ จะต้องมีผสมน้ำเกลือ​ลงไปให้ได้ตามสัดส่วน​ และดูดจากขวดใหญ่เพื่อฉีดกับประชาชน โดย 1 ขวดจะฉีดได้ 6 คน

ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข จึงต้องเตรียมการทั้งการเก็บรักษา การผสมวัคซีน และนัดหมายการฉีด ซึ่งจะต้องอบรมบุคลากรอีกครั้งผ่านระบบออนไลน์​ ทั้งนี้จะมีคณะกรรมการ​กำหนดว่าจะฉีดให้กับกลุ่มไหน ซึ่งหลักการเบื้องต้น​นโยบาย ได้รับความเห็นชอบจาก ศบค.เรียบร้อยแล้ว และจะมีการประกาศให้ประชาชนได้ทราบในระยะต่อไป

Related Post

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 29 ก.ย. จะมีวัคซีนไฟเซอร์เข้ามาก่อน 2 Read more

นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า จะเสนอให้ ศบค.เห็นชอบจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อหามาตรการเยียวยาและช่วยเหลือให้ตรงกับความต้องการ

วัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า

เพจเฟซบุ๊ก "ชมรมแพทย์ชนบท" โพสต์ข้อความนำเสนอ“หยุดระบาดโควิดให้ตรงจุด ถมวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหมดหน้าตักที่กรุงเทพและปริมณฑล”

05/07/2021 รายชื่อทะลุแสนแล้ว “แคมเปญเรียกร้องนำเข้า ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

รายชื่อทะลุแสนแล้ว “แคมเปญเรียกร้องนำเข้า ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

รายชื่อทะลุแสนแล้ว “แคมเปญเรียกร้องนำเข้า ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

วันที่ 3 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากโควิดสายพันธุ์เดลต้าเริ่มแพร่ระบาดในประเทศไทย ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับวัคซีนที่มีไม่รองรับสายพันธุ์เดลต้า โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ด้านหน้าซึ่งต้องแบกรับความเสี่ยงมากที่สุด และอาจเป็นผู้กระจายเชื้อได้

ต่อมาในวันที่ 29 มิ.ย. ภาคีบุคลากรสาธารณสุข ได้เริ่มเปิดลงชื่อ ทั้งในส่วนบุคลากรสาธารณสุข ตลอดจนประชาชนทั่วไป เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล เร่งนำเข้าวัคซีนชนิด mRNA ทั้งไฟเซอร์และโมเดอร์นา ที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าช่วยยับยั้งสายพันธุ์ดังกล่าวได้ และช่วยหยุดสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงในปัจจุบัน

ล่าสุด พบว่า มีประชาชนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ให้ความสนใจลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องทะลุ 100,000 ราย โดยหลังจากนี้จะมีการยื่นเรื่อง เพื่อให้รัฐบาลพิจารณาในสัปดาห์หน้า

ก่อนหน้านี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ในสัมภาษณ์ว่า วัคซีนทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา จะเข้าประเทศไทยได้ประมาณไตรมาส 4 ปี 64 ไปจนถึงไตรมาส 1 ปี 65

Related Post

รายงานจากสื่อ Financial Times ระบุว่า โครงการวัคซีน โคแวกซ์ (COVAX) ที่เกิดขึ้นเพื่อการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ประเทศยากจนนั้น "ล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่"

หมึกบลูริง

เกือบสู่ขิต ซะแล้ว เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ภาพลงในกลุ่มคนรักบุฟเฟ่ต์ (Buffet Lovers) โดยเป็นภาพ หมึกบลูริง จากร้านหมูกระทะชื่อดัง ย่านปิ่นเกล้า

เรื่องราวน่าประทับใจของหนุ่มนักบินชาวอุดรหันมาขับแกร็บสู้ชีวิต ขึ้นไปรับใบอนุญาต ซึ่งก็มีคนมาแสดงความคิดเห็นและให้กำลังใจมากมาย

05/07/2021 สหรัฐเพิ่มคำเตือนบนฉลาก “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

สหรัฐเพิ่มคำเตือนบนฉลาก “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

สหรัฐเพิ่มคำเตือนบนฉลาก “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

สำนักงานอาหารและยาสหรัฐ หรือ FDA ประกาศเพิ่มคำเตือนลงในฉลากและใบแสดงข้อเท็จจริงการใช้วัคซีนของไฟเซอร์ และโมเดอร์นา ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด mRNA เกี่ยวกับความเสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ที่พบในกลุ่มคนหนุ่มสาว

รายงานผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ของ FDA แจ้งว่ามีผู้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ รวมกว่า 1,200 กรณีในสหรัฐ จากจำนวนวัคซีนชนิด mRNA ที่ฉีดไปแล้วประมาณ 300 ล้านโดส โดยส่วนใหญ่จะเกิดหลังจากที่ฉีดวัคซีนโดส 2 ไปแล้วประมาณ 2-3 วัน และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในกลุ่มคนอายุ ต่ำกว่า 30 ปี ในสหรัฐ มีคนรับวัคซีน มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล 309 คน ซึ่ง 295 คนที่รักษาหายกลับบ้านแล้ว แต่จนถึงตอนนี้ บริษัทไฟเซอร์และโมเดอร์นายังไม่แสดงความคิดเห็นใดต่อเรื่องนี้

Related Post
ซิโนฟาร์ม

เพจ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ Chulabhorn Royal Academy แจ้งรายงานผลสรุปจำนวนองค์กรที่ยื่นความประสงค์ขอรับวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม”

ผู้ว่าฯ ปู บอกไม่ท้อกับงานที่สมุทรสาคร วอนประชาชนร่วมกันทำงาน เรื่องลาออกแค่ "จิ๊บจ๊อย"

กทม.เปิดให้ "ผู้ป่วยติดเตียง-ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยเปราะบาง" ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดที่บ้าน

15/06/2021 อีกความหวังของคนไทย “ChulaCov19” วัคซีนสายพันธุ์ไทย โดยแพทย์จุฬาฯ เริ่มการทดลองแล้ว

อีกความหวังของคนไทย “ChulaCov19” วัคซีนสายพันธุ์ไทย โดยแพทย์จุฬาฯ เริ่มการทดลองแล้ว

อีกความหวังของคนไทย “ChulaCov19” วัคซีนสายพันธุ์ไทย โดยแพทย์จุฬาฯ เริ่มการทดลองแล้ว

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มทำการทดสอบวัคซีนที่ผลิตโดยคนไทย ChulaCov19” (จุ-ฬา-คอฟ-ไนน์-ทีน)​ เฟสแรกในมนุษย์ โดยทดลองฉีดให้อาสาสมัครจำนวน 4 ราย เบื้องต้นทั้งหมดไม่พบผลข้างเคียง วัคซีน ChulaCov19” ถูกคิดค้นออกแบบและพัฒนาโดยคนไทย ด้วยความร่วมมือและสนับสนุนจาก นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกผู้บุกเบิกเทคโนโลยีนี้คือ Professor Drew Weissman, มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเทคโนโลยี mRNA เช่นเดียวกับวัคซีน Pfizer และ Moderna ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ทั่วโลกที่มีการรับรองในการฉีดกว่า 600 ล้านโดส ทั่วโลก

mRNAจะสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋วจากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา โดยไม่มีการใช้ตัวเชื้อแต่อย่างใด เมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วนดังกล่าว จะทำการสร้างโปรตีนและกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อ โควิด-19 เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือเกิดอาการหรือเกิดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตได้

การพัฒนาวัคซีน “ChulaCov19” ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยนี้ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เอกชน และประชาชน สำคัญผลการทดลองในหนูทดลอง พบว่าการฉีดแม้เป็นเพียงโดสต่ำๆ แต่สร้างภูมิคุ้มกันได้ “สูงมากจนน่าตื่นเต้น” และเมื่อนำไปทดสอบในลิงก็พบว่าสามารถสร้างภูมิได้สูงมากเช่นกัน นอกจากนั้นยังได้ทำการทดลองในหนูพันธุ์พิเศษ โดยใส่เชื้อเข้าไปในระบบทางเดินหายใจของหนูที่ได้รับการฉีดวัคซีน พบว่าสามารถป้องกันไม่ให้หนูป่วยและเชื้อเข้ากระแสเลือดได้ 100% นอกจากนั้นยังพบว่าเชื้อที่ใส่เข้าไปในจมูกและปอดลดลงกว่า 10 ล้านเท่า

สำหรับการเก็บรักษาพบว่าวัคซีน “ChulaCov19” สามารถอยู่ในอุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส) นานถึง 3 เดือน และเก็บในอุณภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) นาน 2 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าจัดเก็บรักษาง่ายกว่าวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ยี่ห้ออื่น

หลังการประกาศขอสมัครอาสามัครทดลองวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับใบสมัครจากคนไทยกว่า 10,000 ราย

ศ.นพ.เกียรติ อธิบายกระบวนการทดสอบวัคซีนเพิ่มเติมว่า หากผ่านการทดสอบระยะแรกปลายเดือน ก.ค. ระยะที่ 2 จะเริ่มดำเนินการทดสอบในอาสาสมัครอีก 150 คนได้ในช่วงเดือน ส.ค.  พร้อมทั้งเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ วัคซ๊นในกระบวนการใกล้เคียงกันจากผลเลือดของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน ที่ไดรับวัคซีนจากเทคโนโลยี mRNA อย่าง ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา

ส่วนการทดสอบในระยะที่ 3 นั้น อาจไม่จำเป็นต้องทดสอบในอาสาสมัคร 20,000 รายในประเทศที่กำลังเกิดการระบาด ตามเกณฑ์ของการทดลองวัคซีนชนิดใหม่ เนื่องจากเมื่อมีวัคซีนอื่นที่ผลิตชนิดเดียวกันแล้ว มีแนวโน้มว่าภายในสิ้นปีนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (NIH) จะกำหนดหลักเกณฑ์ได้ว่า “วัคซีนที่มีประสิทธิภาพต้องกระตุ้นภูมิเท่าไหร่” ก็จะช่วยลดขั้นตอนการทดสอบทางคลินิกในระยะที่ 3 ได้

หากได้รับการยกเว้นการทดสอบระยะที่ 3 และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด วัคซีน “ChulaCov19” อาจได้รับอนุมัติให้ผลิตเพื่อให้ในคนจำนวนมากได้ประมาณเดือน มี.ค. หรือ เม.ย. 2565

ในล็อตแรกที่ทำการทดสอบนี้ผลิตจากบริษัทในสหรัฐอเมริกา แต่หลังจากนี้จะผลิตในประเทศไทยโดยบริษัท BioNet-Asia ซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแล้ว ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตให้ได้อย่างน้อย 50 ล้านโดสต่อปีหลังผ่านการทดลองและได้รับการอนุมัติ

ท่ามกลางความกังวลเรื่องประสิทธิภาพวัคซีนที่มีในประเทศไทย และทิศทางเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ในอนาคต

ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ เตรียมความพร้อมพัฒนาทดลองวัคซีนรุ่นที่ 2 เพื่อรองรับเชื้อดื้อยาหรือเชื้อกลายพันธุ์ และจะเร่งทดลองกับสัตว์ควบคู่กันไป และคาดว่าจะทดสอบในอาสาสมัครภายในไตรมาสสี่ของปีนี้

“ความคาดหวังแน่นอนเราก็อยากเห็นว่าถ้าประสบความสำเร็จ คือรู้ขนาดที่เหมาะสม โรงงานไทยผลิตได้จริง ฝีมือดีเท่ากับที่เรานำเข้า ประสิทธิผลประสิทธิภาพได้ เราก็อยากให้วัคซีนนี้สามารถที่จะเป็นที่พึ่งของคนไทยได้ในปีหน้า” ศ.นพ.เกียรติ  กล่าวทิ้งท้าย

 

ที่มา : ข้อมูลโดย: พริสม์ จิตเป็นธม workpointTODAY และ ทีมประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Related Post

ชาวจีน 25 ล้านคน  ร่วมลงชื่อจี้ WHO สอบแล็บสหรัฐฯ อาจเป็นต้นตอ Covid-19

ฟ้าทะลายโจร

เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ จากคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2564

โอลิมปิก

เรื่องของเทคโนโลยีนี่ต้องยกให้ ญี่ปุ่นจริงๆ เพราะ โอลิมปิก 2020 โตเกียวเกมส์ครั้งนี้ภายในงาน ยังใช้เทคโนโลยีในการทำงาน และ เตรียมงาน