site loader
site loader
28/06/2021 วิจัยพบ “เชื้อไวรัสโคโรนา” แพร่ระบาดเมื่อ 20,000 ปีก่อน ทิ้งร่องรอยในดีเอ็นเอมนุษย์

วิจัยพบ “เชื้อไวรัสโคโรนา” แพร่ระบาดเมื่อ 20,000 ปีก่อน ทิ้งร่องรอยในดีเอ็นเอมนุษย์

วิจัยพบ “เชื้อไวรัสโคโรนา” แพร่ระบาดเมื่อ 20,000 ปีก่อน ทิ้งร่องรอยในดีเอ็นเอมนุษย์

นิวยอร์ก, 27 มิ.ย. (ซินหัว) เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ (The New York Times) รายงานโดยอ้างอิงงานวิจัยชิ้นใหม่ที่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเมื่อราว 20,000 ปีก่อน ซึ่งรุนแรงอย่างมากจนทิ้งร่องรอยไว้ในดีเอ็นเอของมนุษย์ยุคปัจจุบัน

รายงานดังกล่าว ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี (24 มิ.ย.) ระบุว่าเมื่อเวลาผ่านไปหลายชั่วอายุคน เชื้อไวรัสสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของจีโนม (genome) หรือชุดข้อมูลทางพันธุกรรมของมนุษย์ นักวิจัยจึงศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรมในจีโนมมนุษย์เพื่อจัดลำดับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสขึ้นใหม่

นักวิจัยพบว่าผู้คนในเอเชียตะวันออกเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสมัยโบราณ และคาดการณ์ว่ายีนเหล่านั้นได้พัฒนาระบบต้านเชื้อไวรัสเมื่อประมาณ 20,000-25,000 ปีก่อน ขณะที่จีโนมมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง เชื้อไวรัสก็เกิดการวิวัฒนาการเช่นกัน โดยโปรตีนของเชื้อไวรัสจะพัฒนาเพื่อเอาชนะกลไกการป้องกันตัวของร่างกายของพาหะ (host)

รายงานระบุว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เชื้อไวรัสโคโรนา 3 สายพันธุ์แพร่ระบาดสู่มนุษย์และก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจรุนแรง ได้แก่ โรคโควิด-19 (Covid-19) โรคซาส์ (SARS) และโรคเมอร์ส (MERS) ซึ่งการวิจัยเชื้อไวรัสแต่ละสายพันธุ์แสดงให้เห็นว่าเชื้อไวรัสแพร่ระบาดจากค้างคาวหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นมาสู่มนุษย์

Related Post

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขอบคุณ “แซก แอฟรอน” นักแสดงระดับโลกโพสต์ภาพทะเลภูเก็ตผ่าน Instagram ส่วนตัว

อวสานข้าวทุกมื้อ เมื่อเว็บไซต์ Ladbible นำเสนอเรื่องราวชวนสะพรึง โดยอ้างอิงจากสำนักข่าว Yomiuri Shimbun ของญี่ปุ่น หลังมหาวิทยาลัยโอซาก้า

COVID 19

ข้อสงสัยของการฉีดวัคซีนเยอะมากทีเดียว วันนี้ Flex 104.5 เลยอยากจะ ขอนำโพสต์ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน