site loader
site loader
31/05/2021 อัปเดตสถานการณ์ “ซิโนฟาร์ม” วัคซีนตัวที่ 5 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดการนำเข้า

อัปเดตสถานการณ์ “ซิโนฟาร์ม” วัคซีนตัวที่ 5 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดการนำเข้า

อัปเดตสถานการณ์ “ซิโนฟาร์ม” วัคซีนตัวที่ 5 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดการนำเข้า

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) เป็นที่เรียบร้อย ในวันเดียวกันกับที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ตั้งโต๊ะแถลง “แนวทางการจัดสรรและนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ทางเลือก ซิโนฟาร์ม” ซึ่งจะนำเข้ามาในไทย 1ล้านโดส ในเดือน มิ.ย.

โดย ซิโนฟาร์ม เป็นวัคซีนโควิด-19 รายการที่ 5 ที่ได้รับอนุมัติจาก อย. โดยมีบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด เป็นผู้ยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนและจะเป็นผู้นำเข้าอย่างครบถ้วน ทั้งเอกสารขออนุญาต และขออนุมัติใช้ และถือเป็นวัคซีนสัญชาติจีนยี่ห้อที่ 2 ที่จะนำมาฉีดให้คนไทย ซึ่ง วัคซีนซิโนฟาร์ม ได้รับรองจาก องค์กรอนามัยโลก (WHO) ขอขึ้นทะเบียนเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินในการระบาดโรคโควิด-19  นอกเหนือจากวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) ที่กระจายอยู่ในปัจจุบัน

เบื้องหลังการนำเข้า “วัคซีนทางเลือก” ตัวแรกของไทย ได้รับการเฉลยโดย ศ.นพ. นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ว่า ทางราชวิทยาลัยได้ติดต่อบริษัทซิโนฟาร์มเพื่อขอนำเข้าวัคซีน แต่มอบหมายให้บริษัทไบโอจีนีเทคช่วยดำเนินการยื่นเอกสารขออนุญาตจาก อย. เนื่องจากบริษัทดังกล่าวมีใบอนุญาตนำเข้ายาและเวชภัณฑ์ และเคยเป็นผู้นำเข้าและเก็บรักษาวัคซีนอื่น ๆ ของซิโนฟาร์มมาแล้ว

ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา มี “วัคซีนหลัก” อยู่ 2 ยี่ห้อกระจายฉีดให้คนไทยคือ วัคซีนโคโรนาแวคของบริษัทซิโนแวค นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) 6 ล้านโดส และจะมาเพิ่มอีก 3 ล้านโดสในเดือน มิ.ย. และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า นำเข้าโดยบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 117,000 โดส และนับจากเดือนหน้า วัคซีนแอสตร้าฯ ที่ผลิตในไทยโดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด (SBS) จะทยอยส่งมอบวัคซีนจนครบ 61 ล้านโดส

วัคซีนซิโนฟาร์มที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กำลังจะนำเข้ามา จึงถือเป็น “วัคซีนทางเลือก” ยี่ห้อแรกที่จะฉีดให้คนไทย

โดย ในล๊อตแรกประมาณการจะมา 1 ล้านโดสในเดือน มิ.ย. ส่วนราคาจะรวมอยู่ในราคา  ต้นทุนในการจัดซื้อ การขนส่ง และการจัดเก็บ รวมทั้งค่าประกันในกรณีแพ้วัคซีน  ***โดยเบื้องต้น เปิดให้ หน่วยงานบริการของรัฐ และ บริษัทเอกชน ที่แสดงความจำนงติดต่อขอรับไปฉีด แต่ต้องคุยรายละเอียดอีกครั้ง โดยราชวิทยาลัยฯ ยินดีที่จะให้ใช้โรงพยาบาลเอกชนด้านนอกรับไปฉีดก็ได้ ได้ เพราะ รพ.จุฬาภรณ์มีศักยภาพในการฉีดราว 4,000-5,000 คนต่อวัน (ซึ่งปัจจุบันฉีดให้เฉพาะวัคซีนที่ทางรัฐจัดหา คือ วัคซีนซิโนแลค และ แอสตร้าเซนิก้าในปัจจุบัน)

สำหรับประชาชนที่ลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนไว้กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ก่อนหน้านี้ราว 5-6 แสนคน ทาง รพ. ก็จะใช้วัคซีนที่รัฐจัดให้ฟรี ไม่ว่าจะเป็น แอสตร้าเซนเนก้า หรือซิโนแวค ไม่เกี่ยวกับซิโนฟาร์มที่กำลังจะนำเข้ามา

ทั้งนี้ ในวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา หลังเกิดกระแสโจมตีในโลกออนไลน์ ถึงค่าใช้จ่ายของ วัคซีนซิโนฟาร์มที่เข้ามา ล่าสุด ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ผู้อำนวยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ได้โพสต์ข้อความในเพจส่วนตัว “Nithi Mahanonda” ชี้แจงรายละเอียดอีกครั้งถึงค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัคซีนอีกครั้งเช่นที่เคยแถลงไป อีกครั้ง เฝื่อมีประชาชนตกหล่นในข้อความ คือ  ราคาของวัคซีน ต้นทุนในการจัดซื้อ+ การขนส่ง+ การจัดเก็บ + ค่าประกันในกรณีแพ้วัคซีน  ซึ่งตอนนี้ ยังไม่สรุปว่าจะจะราคาเท่าไร อยู่ในระหว่างการติดต่อ

นอกจากนี้ถ้าเป็นบริษัทเอกชนที่ติดต่อเข้ามาขอซื้อวัคซีนไป ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีข้อกำหนดว่าบริษัทดังกล่าว จะต้องซื้อวัคซีนเพิ่มอีกร้อยละสิบเพื่อบริจาคให้รัฐนำไปฉีดให้กับประชาชนที่ด้อยโอกาสและไม่ได้อยู่กับองค์กรใดๆ ด้วย เช่น ผู้ค้าขายอิสระบนทางเท้า หรือในตลาด นั่นเอง

Related Post
หมอบุญ

(ก.ล.ต.) แจ้งให้ นายบุญ วนาสิน ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการ เซ็นสัญญากับกระทรวงกลาโหมเพื่อนำเข้าวัคซีนไฟเซอร์

จี๊บ เทพอาจ

จี๊บ เทพอาจ กวินอนันต์ ในฐานะผู้บริหารค่ายเพลงชื่อดัง LOVEiS Entertainment เปิดโครงการ Charity100 ร้านค้าเพื่อ “ร้านค้ารายย่อย”

"จุตินันท์"  เชื่อพาราลิมปิกเกมส์ครั้ง 16 ขุนศึกนักกีฬาไทย จะสร้างความภูมิใจได้แน่นอน