site loader
site loader
05/07/2021 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รายงานผลข้างเคียง “ซิโนฟาร์ม” เข้าโรงพยาบาล 61 คน

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รายงานผลข้างเคียง “ซิโนฟาร์ม” เข้าโรงพยาบาล 61 คน

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รายงานผลข้างเคียง “ซิโนฟาร์ม” เข้าโรงพยาบาล 61 คน

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ Chulabhorn Royal Academy รายงานข้อมูลผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” วันที่ 25 – 30 มิถุนายน 2564 มีผู้ได้รับวัคซีน ซิโนฟาร์ม ทั้งหมด 67,992 คน

ทั้งนี้ ผู้ได้รับวัคซีน โควิด-19 จากศูนย์ฉีดวัคซีนตัวเลือกซิโนฟาร์ม มีอาการไม่พึงประสงค์ระหว่างรอสังเกตอาการภายในเวลา 30 นาที (Day 0) 48 คน (0.29%) โดยผู้รับวัคซีนมีอาการ เวียนศีรษะ , คลื่นไส้ , อาเจียน , หายใจเร็ว , ชา วูบคล้ายเป็นลม , ใจสั่น , หูอื้อ และ อาการคัน ผู้ป่วยทั้งหมดหลังรับการรักษาที่จุดปฐมพยาบาล สามารถกลับบ้านได้ ยกเว้น 1 คน ที่มีอาการชัก แพทย์ส่งต่อห้องฉุกเฉิน ศูนย์การแพทย์ะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ หลังตรวจสแกนสมองไม่พบความผิดปกติในเนื้อสมอง แต่อาการที่เกิดเกี่ยวเนื่องจากโรคประจำตัวเดิม คือ โรคลมชัก และ โรคเบาหวาน

ข้อมูลจากการติดตามประเมินอาการหลังได้รับวัคซีน 1 วัน (Day 1) ผู้ได้รับวัคซีน โควิด-19 ซิโนฟาร์ม ทั้งหมด 67,992 คน เกิดอาการไม่พึงประสงค์ 9,325 คน (13.71%) มีอาการ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจเร็ว ชา วูบคล้ายเป็นลม ใจสั่น หูอื้อ ผื่นคัน บวมแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน ง่วงนอน อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ มีจุดจ้ำเลือดออก ใบหน้าหรือปากเบี้ยว แขนขาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผิวหนังลอก และ ชักหมดสติ ผู้รับวัคซีนซิโนฟาร์มเข้ารับการรักษาอาการข้างเคียงที่โรงพยาบาล รวม 61 คน รักษาอาการในวันที่รับวัคซีนแล้วกลับบ้านได้ จำนวน 53 คน ต้องอยู่รักษาตัวต่อที่โรงพยาบาล (admit) จำนวน 8 คน

Related Post

ที่สุดของความไม่ธรรมดากับกิจกรรม Flex Delivery #ลุ้นฟินอิ่มฟรี ที่ครั้งนี้ Flex 104.5 เข้าคิวต่อแถวเพื่อสั่งจองความอร่อยที่เป็นกระแสดัง

ข้าวไข่เจียว

กลายเป็นโพสต์ที่ถูกแชร์ไปทั่วโลกออนไลน์ หลังจาก ร้านแม่ครัวตัวกลม ได้เปิดเผยเรื่องราวของลูกค้ารายหนึ่งที่สั่งข้าวไข่เจียวหมูสับ

ชิโนฟาร์ม

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) เป็นที่เรียบร้อย

10/06/2021 ราชวิทยาลัยฯ เคาะราคา “ซิโนฟาร์ม” 888 บาท แจง 4 เงื่อนไข องค์กร – หน่วยงาน ขอรับวัคซีน

ราชวิทยาลัยฯ เคาะราคา “ซิโนฟาร์ม” 888 บาท แจง 4 เงื่อนไข องค์กร – หน่วยงาน ขอรับวัคซีน

ราชวิทยาลัยฯ เคาะราคา “ซิโนฟาร์ม” 888 บาท แจง 4 เงื่อนไข องค์กร – หน่วยงาน ขอรับวัคซีน

วันนี้ 9 มิถุนายน 2564 ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Nithi Mahanonda แจ้งประกาศ  ถึงข้อกำหนดผู้ขอรับการจัดสรร“วัคซีนตัวเลือก” ซิโนฟาร์ม ระยะที่ ๑

มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1.เป็นองค์กรนิติบุคคลหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐ ( สำหรับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้เป็นไปตามประกาศ ศบค เรื่องแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-๑๙ ข้อ ๕)  องค์กรการกุศลและหน่วยงานเอกชน โดยจะพิจารณาการจัดสรรในระยะที่ ๑ ตามประเภทการดำเนินงานของหน่วยงาน (ความสำคัญด้านความมั่นคงทางสังคม เศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ำ) ระดับความเสี่ยงของโอกาสในการแพร่เชื้อให้กับสังคม และระดับความเสี่ยงโควิดบนพื้นที่ของทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ

2.องค์กร/หน่วยงานสามารถจัดสรรวัคซีนให้แก่กลุ่มบุคคลที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนตัวเลือกได้ทุกประเภท ทั้งพนักงาน ครอบครัวพนักงานและแรงงานต่างชาติ แต่ไม่อนุญาตให้เรียกเก็บเงินค่าวัคซีนและค่าบริการอื่นๆ กับผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนได้และห้ามหาผลประโยชน์ทางการค้า ทั้งนี้ หากองค์กร/หน่วยงานใดฝ่าฝืนระเบียบตามข้อกำหนดราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะดำเนินการปรับในอัตรา ๑๕ เท่าของมูลค่าวัคซีนที่ได้รับการจัดสรร

3.องค์กร / หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนตัวเลือกยินดีร่วมช่วยเหลือสังคม ด้วยการบริจาควัคซีนตัวเลือก จำนวน ๑๐ % ของจำนวนวัคซีนตัวเลือกที่ได้รับการจัดสรรจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อให้กับชุมชนผู้ด้อยโอกาส โดยรายละเอียดและขั้นตอนในเรื่องนี้จะแจ้งให้ทราบต่อไป

4.องค์กร / หน่วยงาน จะต้องประสานจัดหาโรงพยาบาลเพื่อรองรับการฉีดวัคซีนตัวเลือก โดยโรงพยาบาลดังกล่าวจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาลให้บริการฉีดวัคซีนตัวเลือกกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อควบคุมมาตรฐานความปลอดภัย โดยค่าบริการฉีดวัคซีนนั้น สถานพยาบาลสามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้กับองค์กร/หน่วยงานนั้นได้ แต่ห้ามเรียกเก็บจากผู้รับการฉีดเป็นอันขาด

สำหรับราคาวัคซีนตัวเลือก” ซิโนฟาร์ม  ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กำหนดอยู่ที่ ราคาเข็มละ ๘๘๘ บาท อัตราดังกล่าวรวมค่าวัคซีน ค่าขนส่ง ค่าเก็บรักษาพร้อมประกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากวัคซีนแล้ว แต่ไม่รวมค่าบริการของโรงพยาบาลและค่าบริการทางการแพทย์ที่ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลที่ทางองค์กร / หน่วยงานติดต่อประสานเพื่อการบริการฉีดวัคซีน

สำหรับแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนในระยะที่สองสำหรับบุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะเข้ารับการฉีดวัคซีนตัวเลือกนี้ จะประกาศให้ทราบต่อไป หลังจากตรวจสอบระบบความปลอดภัย และการเชื่อมต่อข้อมูลกับสถานพยาบาลแล้ว

ทั้งนี้ ข้อกำหนด ผู้ขอรับการจัดสรร“วัคซีนตัวเลือก” ซิโนฟาร์ม ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เกิดขึ้นภายหลังจาก ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่แนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยระบุใจความ …ว่าเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้มากขึ้น สถานพยาบาลเอกชน และภาคเอกชนอาจจัดหาหรือขอรับการสนับสนุนวัคซีน จากหน่วยงานหลัก เช่น กรมควบคุมโรค องค์การเภสัชกรรม สถาบันวัคซีนแห่งชาติ สภากาชาดไทย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หรือ หน่วยงานของรัฐ ได้ ภายใต้กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

รวมถึง ปลดล็อกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ได้จากหน่วยงานข้างต้นเช่นกัน โดยให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้องสอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือนายกรัฐมนตรีกำหนด

ที่มา https://www.thansettakij.com/content/covid_19/483195

Related Post
ศคบ.

สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 15/2564 วันนี่ (31 พ.ค.64) มีมติให้ผ่อนปรนมาตรการสำหรับสถานประกอบการ 5 ประเภท

สธ.เผยประสิทธิผล "ซิโนแวค-แอสตร้าฯ" ยังป้องกันป่วยรุนแรง-ตายได้ แม้โควิดเปลี่ยนสายพันธุ์

Vaccine Covid 19

NEW YORK TIME เผยข้อมูล สหภาพยุโรป (อียู) มีมติเห็นชอบเมื่อวันพุธ (19 พ.ค.) ให้เปิดพรมแดนแก่นักเดินทางจากภายนอกอีกครั้ง