site loader
site loader
02/08/2021 ไม่ต้องตกใจ สธ.เผยวิธีฉีดวัคซีน “ไฟเซอร์” เข้มข้น ต้องผสมน้ำเกลือก่อนฉีด 1 ขวดฉีดได้ 6 คน

ไม่ต้องตกใจ สธ.เผยวิธีฉีดวัคซีน “ไฟเซอร์” เข้มข้น ต้องผสมน้ำเกลือก่อนฉีด 1 ขวดฉีดได้ 6 คน

ไม่ต้องตกใจ สธ.เผยวิธีฉีดวัคซีน “ไฟเซอร์” เข้มข้น
ต้องผสมน้ำเกลือก่อนฉีด
1 ขวดฉีดได้ 6 คน

หลังจากการรับมอบไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสจากสหรัฐอเมริกาเรียบร้อย นพ.โอภาส​ การ​ย์​กวิน​พงศ์​ อธิบดี​กรมควบคุม​โรค​ ได้กล่าวถึง วัคซีน​ ไฟเซอร์  โดยระบุว่า วัคซีน​ไฟเซอร์​ ที่รับบริจาคมาจากสหรัฐ​อเมริกา​ 1.5 ล้านโดส ต้องเก็บในคลังวัคซีน​ที่กำหนดไว้ เนื่องจากการเก็บวัคซีนไฟเซอร์ จะต้องเก็บในอุณหภูมิ​ -​70 องศาเซลเซียส​ จากนั้นมีการสอนวิธีผสมการฉีดวัคซีน

ซึ่งวัคซีนนี้ไม่เหมือนกับวัคซีน​ที่เราเคยใช้ ทั้งแอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ และซิโนแวค ที่ดูดจากขวด 2-8 องศา​เซลเซียส​แล้วสามารถฉีดได้เลย แต่วัคซีนไฟเซอร์จะต้องเก็บอุณหภูมิ​ -​70 องศาเซลเซียส​ จากนั้นก็จะส่งไปยังหน่วยฉีดเพื่อเก็บที่อุณหภูมิ​ 2-8 องศาเซลเซียส​ ซึ่งวัคซีน​จะอยู่ได้ไม่นาน อายุอยู่ได้ราว 4 สัปดาห์ ฉะนั้นเวลานำมาจะต้องรีบใช้ และการใช้ก็จะแตกต่างกัน ต้องมีกรรมวิธีการผสม เนื่องจากเป็นวัคซีนเข้มข้น​ จะต้องมีผสมน้ำเกลือ​ลงไปให้ได้ตามสัดส่วน​ และดูดจากขวดใหญ่เพื่อฉีดกับประชาชน โดย 1 ขวดจะฉีดได้ 6 คน

ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข จึงต้องเตรียมการทั้งการเก็บรักษา การผสมวัคซีน และนัดหมายการฉีด ซึ่งจะต้องอบรมบุคลากรอีกครั้งผ่านระบบออนไลน์​ ทั้งนี้จะมีคณะกรรมการ​กำหนดว่าจะฉีดให้กับกลุ่มไหน ซึ่งหลักการเบื้องต้น​นโยบาย ได้รับความเห็นชอบจาก ศบค.เรียบร้อยแล้ว และจะมีการประกาศให้ประชาชนได้ทราบในระยะต่อไป

Related Post
จี๊บ เทพอาจ

จี๊บ เทพอาจ กวินอนันต์ ในฐานะผู้บริหารค่ายเพลงชื่อดัง LOVEiS Entertainment เปิดโครงการ Charity100 ร้านค้าเพื่อ “ร้านค้ารายย่อย”

26 สิงหาคม ของทุกปี คือวันสุนัขโลก วันนี้ Flex 104.5 เลยจะพาทุกคนเข้าสู่โลกความน่ารักของน้องมีใจ น้องสุนัขของ FJ Read more

หน้ากากผ้า

พ.อ.(พิเศษ) นพ.ธนะพันธ์ พิบูลย์บรรณกิจ เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก ถึงสถานการณ์ขณะนี้ว่า ประชาชนทั่วไป ไม่ควรสวมหน้ากากผ้าอีกต่อไปแล้ว

05/07/2021 รายชื่อทะลุแสนแล้ว “แคมเปญเรียกร้องนำเข้า ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

รายชื่อทะลุแสนแล้ว “แคมเปญเรียกร้องนำเข้า ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

รายชื่อทะลุแสนแล้ว “แคมเปญเรียกร้องนำเข้า ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

วันที่ 3 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากโควิดสายพันธุ์เดลต้าเริ่มแพร่ระบาดในประเทศไทย ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับวัคซีนที่มีไม่รองรับสายพันธุ์เดลต้า โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ด้านหน้าซึ่งต้องแบกรับความเสี่ยงมากที่สุด และอาจเป็นผู้กระจายเชื้อได้

ต่อมาในวันที่ 29 มิ.ย. ภาคีบุคลากรสาธารณสุข ได้เริ่มเปิดลงชื่อ ทั้งในส่วนบุคลากรสาธารณสุข ตลอดจนประชาชนทั่วไป เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล เร่งนำเข้าวัคซีนชนิด mRNA ทั้งไฟเซอร์และโมเดอร์นา ที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าช่วยยับยั้งสายพันธุ์ดังกล่าวได้ และช่วยหยุดสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงในปัจจุบัน

ล่าสุด พบว่า มีประชาชนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ให้ความสนใจลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องทะลุ 100,000 ราย โดยหลังจากนี้จะมีการยื่นเรื่อง เพื่อให้รัฐบาลพิจารณาในสัปดาห์หน้า

ก่อนหน้านี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ในสัมภาษณ์ว่า วัคซีนทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา จะเข้าประเทศไทยได้ประมาณไตรมาส 4 ปี 64 ไปจนถึงไตรมาส 1 ปี 65

Related Post
วัคซีน

มีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งที่ออกมาประกาศเลื่อนคิวการฉีดวัคซีนที่มีการนัดหมายไว้ในวันที่ 14-20 มิถุนายนออกไป

ทนายแก้ว ทนายมนต์ชัย จงไกรรัตนกุล ทนายโซเชียล ทนายเซเลปคนดัง ของรายการข่าวหลากหลายรายการ ออกโรงคดีดัง BMZ4 ซิ่งชนยับที่เพชรบูรณ์

มิตรภาพนักกีฬาสุดน่ารัก ทอม เดลีย์ แลกเสื้อ ปอป้อ นักแบดสาวไทย งานนี้แฟนคลับกรี๊ด!

05/07/2021 สหรัฐเพิ่มคำเตือนบนฉลาก “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

สหรัฐเพิ่มคำเตือนบนฉลาก “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

สหรัฐเพิ่มคำเตือนบนฉลาก “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”

สำนักงานอาหารและยาสหรัฐ หรือ FDA ประกาศเพิ่มคำเตือนลงในฉลากและใบแสดงข้อเท็จจริงการใช้วัคซีนของไฟเซอร์ และโมเดอร์นา ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด mRNA เกี่ยวกับความเสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ที่พบในกลุ่มคนหนุ่มสาว

รายงานผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ของ FDA แจ้งว่ามีผู้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ รวมกว่า 1,200 กรณีในสหรัฐ จากจำนวนวัคซีนชนิด mRNA ที่ฉีดไปแล้วประมาณ 300 ล้านโดส โดยส่วนใหญ่จะเกิดหลังจากที่ฉีดวัคซีนโดส 2 ไปแล้วประมาณ 2-3 วัน และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในกลุ่มคนอายุ ต่ำกว่า 30 ปี ในสหรัฐ มีคนรับวัคซีน มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล 309 คน ซึ่ง 295 คนที่รักษาหายกลับบ้านแล้ว แต่จนถึงตอนนี้ บริษัทไฟเซอร์และโมเดอร์นายังไม่แสดงความคิดเห็นใดต่อเรื่องนี้

Related Post

ดร.ก้องศักดิ์ ยอดมณี ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทยอ (กทท.) เผยว่ากำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาลิขสิทธิ์ เพื่อคว้าสิทธิ์ในการถ่ายทอดสด

มหิดล

พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ กล่าวว่า วิทยาลัยราชสุดา มม.มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอน และสร้างความรู้ความเข้าใจในการให้ความช่วยเหลือคนพิการ

แต้ว สุดาพร

นับเป็นข่าวดีสำหรับคนไทย เมื่อ “แต้ว” สุดาพร สีสอนดี นักกีฬามวยสากลหญิง รุ่น 60 กก. ได้รับ “เหรียญทองแดง” เรียบร้อยแล้ว

15/06/2021 อีกความหวังของคนไทย “ChulaCov19” วัคซีนสายพันธุ์ไทย โดยแพทย์จุฬาฯ เริ่มการทดลองแล้ว

อีกความหวังของคนไทย “ChulaCov19” วัคซีนสายพันธุ์ไทย โดยแพทย์จุฬาฯ เริ่มการทดลองแล้ว

อีกความหวังของคนไทย “ChulaCov19” วัคซีนสายพันธุ์ไทย โดยแพทย์จุฬาฯ เริ่มการทดลองแล้ว

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มทำการทดสอบวัคซีนที่ผลิตโดยคนไทย ChulaCov19” (จุ-ฬา-คอฟ-ไนน์-ทีน)​ เฟสแรกในมนุษย์ โดยทดลองฉีดให้อาสาสมัครจำนวน 4 ราย เบื้องต้นทั้งหมดไม่พบผลข้างเคียง วัคซีน ChulaCov19” ถูกคิดค้นออกแบบและพัฒนาโดยคนไทย ด้วยความร่วมมือและสนับสนุนจาก นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกผู้บุกเบิกเทคโนโลยีนี้คือ Professor Drew Weissman, มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเทคโนโลยี mRNA เช่นเดียวกับวัคซีน Pfizer และ Moderna ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ทั่วโลกที่มีการรับรองในการฉีดกว่า 600 ล้านโดส ทั่วโลก

mRNAจะสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋วจากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา โดยไม่มีการใช้ตัวเชื้อแต่อย่างใด เมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วนดังกล่าว จะทำการสร้างโปรตีนและกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อ โควิด-19 เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือเกิดอาการหรือเกิดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตได้

การพัฒนาวัคซีน “ChulaCov19” ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยนี้ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เอกชน และประชาชน สำคัญผลการทดลองในหนูทดลอง พบว่าการฉีดแม้เป็นเพียงโดสต่ำๆ แต่สร้างภูมิคุ้มกันได้ “สูงมากจนน่าตื่นเต้น” และเมื่อนำไปทดสอบในลิงก็พบว่าสามารถสร้างภูมิได้สูงมากเช่นกัน นอกจากนั้นยังได้ทำการทดลองในหนูพันธุ์พิเศษ โดยใส่เชื้อเข้าไปในระบบทางเดินหายใจของหนูที่ได้รับการฉีดวัคซีน พบว่าสามารถป้องกันไม่ให้หนูป่วยและเชื้อเข้ากระแสเลือดได้ 100% นอกจากนั้นยังพบว่าเชื้อที่ใส่เข้าไปในจมูกและปอดลดลงกว่า 10 ล้านเท่า

สำหรับการเก็บรักษาพบว่าวัคซีน “ChulaCov19” สามารถอยู่ในอุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส) นานถึง 3 เดือน และเก็บในอุณภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) นาน 2 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าจัดเก็บรักษาง่ายกว่าวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ยี่ห้ออื่น

หลังการประกาศขอสมัครอาสามัครทดลองวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับใบสมัครจากคนไทยกว่า 10,000 ราย

ศ.นพ.เกียรติ อธิบายกระบวนการทดสอบวัคซีนเพิ่มเติมว่า หากผ่านการทดสอบระยะแรกปลายเดือน ก.ค. ระยะที่ 2 จะเริ่มดำเนินการทดสอบในอาสาสมัครอีก 150 คนได้ในช่วงเดือน ส.ค.  พร้อมทั้งเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ วัคซ๊นในกระบวนการใกล้เคียงกันจากผลเลือดของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน ที่ไดรับวัคซีนจากเทคโนโลยี mRNA อย่าง ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา

ส่วนการทดสอบในระยะที่ 3 นั้น อาจไม่จำเป็นต้องทดสอบในอาสาสมัคร 20,000 รายในประเทศที่กำลังเกิดการระบาด ตามเกณฑ์ของการทดลองวัคซีนชนิดใหม่ เนื่องจากเมื่อมีวัคซีนอื่นที่ผลิตชนิดเดียวกันแล้ว มีแนวโน้มว่าภายในสิ้นปีนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (NIH) จะกำหนดหลักเกณฑ์ได้ว่า “วัคซีนที่มีประสิทธิภาพต้องกระตุ้นภูมิเท่าไหร่” ก็จะช่วยลดขั้นตอนการทดสอบทางคลินิกในระยะที่ 3 ได้

หากได้รับการยกเว้นการทดสอบระยะที่ 3 และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด วัคซีน “ChulaCov19” อาจได้รับอนุมัติให้ผลิตเพื่อให้ในคนจำนวนมากได้ประมาณเดือน มี.ค. หรือ เม.ย. 2565

ในล็อตแรกที่ทำการทดสอบนี้ผลิตจากบริษัทในสหรัฐอเมริกา แต่หลังจากนี้จะผลิตในประเทศไทยโดยบริษัท BioNet-Asia ซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแล้ว ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตให้ได้อย่างน้อย 50 ล้านโดสต่อปีหลังผ่านการทดลองและได้รับการอนุมัติ

ท่ามกลางความกังวลเรื่องประสิทธิภาพวัคซีนที่มีในประเทศไทย และทิศทางเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ในอนาคต

ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ เตรียมความพร้อมพัฒนาทดลองวัคซีนรุ่นที่ 2 เพื่อรองรับเชื้อดื้อยาหรือเชื้อกลายพันธุ์ และจะเร่งทดลองกับสัตว์ควบคู่กันไป และคาดว่าจะทดสอบในอาสาสมัครภายในไตรมาสสี่ของปีนี้

“ความคาดหวังแน่นอนเราก็อยากเห็นว่าถ้าประสบความสำเร็จ คือรู้ขนาดที่เหมาะสม โรงงานไทยผลิตได้จริง ฝีมือดีเท่ากับที่เรานำเข้า ประสิทธิผลประสิทธิภาพได้ เราก็อยากให้วัคซีนนี้สามารถที่จะเป็นที่พึ่งของคนไทยได้ในปีหน้า” ศ.นพ.เกียรติ  กล่าวทิ้งท้าย

 

ที่มา : ข้อมูลโดย: พริสม์ จิตเป็นธม workpointTODAY และ ทีมประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Related Post
อู่ฮั่น

หลี่ เทา เจ้าหน้าที่ประจำเมืองอู่ฮั่น แถลงว่า เมืองอู่ฮั่นพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชนรวม 7 ราย ซึ่งถือเป็นการระบาดในชุมชนครั้งแรก

แลมบ์ดา

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศการตรวจพบโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ “แลมบ์ดา” (Lambda)

รู้ไว้ให้ชัวร์? นายษิทรา เบี้ยบังเกิด เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายเพื่อประชาชน หรือ "ทนายตั้ม" ได้โพสต์ ข้อความ เกี่ยวกับ กฎหมาย Read more