อัปเดตสถานการณ์ “ซิโนฟาร์ม” วัคซีนตัวที่ 5 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดการนำเข้า
เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) เป็นที่เรียบร้อย ในวันเดียวกันกับที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ตั้งโต๊ะแถลง “แนวทางการจัดสรรและนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ทางเลือก ซิโนฟาร์ม” ซึ่งจะนำเข้ามาในไทย 1ล้านโดส ในเดือน มิ.ย.
โดย ซิโนฟาร์ม เป็นวัคซีนโควิด-19 รายการที่ 5 ที่ได้รับอนุมัติจาก อย. โดยมีบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด เป็นผู้ยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนและจะเป็นผู้นำเข้าอย่างครบถ้วน ทั้งเอกสารขออนุญาต และขออนุมัติใช้ และถือเป็นวัคซีนสัญชาติจีนยี่ห้อที่ 2 ที่จะนำมาฉีดให้คนไทย ซึ่ง วัคซีนซิโนฟาร์ม ได้รับรองจาก องค์กรอนามัยโลก (WHO) ขอขึ้นทะเบียนเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินในการระบาดโรคโควิด-19 นอกเหนือจากวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) ที่กระจายอยู่ในปัจจุบัน
เบื้องหลังการนำเข้า “วัคซีนทางเลือก” ตัวแรกของไทย ได้รับการเฉลยโดย ศ.นพ. นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ว่า ทางราชวิทยาลัยได้ติดต่อบริษัทซิโนฟาร์มเพื่อขอนำเข้าวัคซีน แต่มอบหมายให้บริษัทไบโอจีนีเทคช่วยดำเนินการยื่นเอกสารขออนุญาตจาก อย. เนื่องจากบริษัทดังกล่าวมีใบอนุญาตนำเข้ายาและเวชภัณฑ์ และเคยเป็นผู้นำเข้าและเก็บรักษาวัคซีนอื่น ๆ ของซิโนฟาร์มมาแล้ว
ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา มี “วัคซีนหลัก” อยู่ 2 ยี่ห้อกระจายฉีดให้คนไทยคือ วัคซีนโคโรนาแวคของบริษัทซิโนแวค นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) 6 ล้านโดส และจะมาเพิ่มอีก 3 ล้านโดสในเดือน มิ.ย. และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า นำเข้าโดยบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 117,000 โดส และนับจากเดือนหน้า วัคซีนแอสตร้าฯ ที่ผลิตในไทยโดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด (SBS) จะทยอยส่งมอบวัคซีนจนครบ 61 ล้านโดส
วัคซีนซิโนฟาร์มที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กำลังจะนำเข้ามา จึงถือเป็น “วัคซีนทางเลือก” ยี่ห้อแรกที่จะฉีดให้คนไทย
โดย ในล๊อตแรกประมาณการจะมา 1 ล้านโดสในเดือน มิ.ย. ส่วนราคาจะรวมอยู่ในราคา ต้นทุนในการจัดซื้อ การขนส่ง และการจัดเก็บ รวมทั้งค่าประกันในกรณีแพ้วัคซีน ***โดยเบื้องต้น เปิดให้ หน่วยงานบริการของรัฐ และ บริษัทเอกชน ที่แสดงความจำนงติดต่อขอรับไปฉีด แต่ต้องคุยรายละเอียดอีกครั้ง โดยราชวิทยาลัยฯ ยินดีที่จะให้ใช้โรงพยาบาลเอกชนด้านนอกรับไปฉีดก็ได้ ได้ เพราะ รพ.จุฬาภรณ์มีศักยภาพในการฉีดราว 4,000-5,000 คนต่อวัน (ซึ่งปัจจุบันฉีดให้เฉพาะวัคซีนที่ทางรัฐจัดหา คือ วัคซีนซิโนแลค และ แอสตร้าเซนิก้าในปัจจุบัน)
สำหรับประชาชนที่ลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนไว้กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ก่อนหน้านี้ราว 5-6 แสนคน ทาง รพ. ก็จะใช้วัคซีนที่รัฐจัดให้ฟรี ไม่ว่าจะเป็น แอสตร้าเซนเนก้า หรือซิโนแวค ไม่เกี่ยวกับซิโนฟาร์มที่กำลังจะนำเข้ามา
ทั้งนี้ ในวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา หลังเกิดกระแสโจมตีในโลกออนไลน์ ถึงค่าใช้จ่ายของ วัคซีนซิโนฟาร์มที่เข้ามา ล่าสุด ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ผู้อำนวยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ได้โพสต์ข้อความในเพจส่วนตัว “Nithi Mahanonda” ชี้แจงรายละเอียดอีกครั้งถึงค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัคซีนอีกครั้งเช่นที่เคยแถลงไป อีกครั้ง เฝื่อมีประชาชนตกหล่นในข้อความ คือ ราคาของวัคซีน ต้นทุนในการจัดซื้อ+ การขนส่ง+ การจัดเก็บ + ค่าประกันในกรณีแพ้วัคซีน ซึ่งตอนนี้ ยังไม่สรุปว่าจะจะราคาเท่าไร อยู่ในระหว่างการติดต่อ
นอกจากนี้ถ้าเป็นบริษัทเอกชนที่ติดต่อเข้ามาขอซื้อวัคซีนไป ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีข้อกำหนดว่าบริษัทดังกล่าว จะต้องซื้อวัคซีนเพิ่มอีกร้อยละสิบเพื่อบริจาคให้รัฐนำไปฉีดให้กับประชาชนที่ด้อยโอกาสและไม่ได้อยู่กับองค์กรใดๆ ด้วย เช่น ผู้ค้าขายอิสระบนทางเท้า หรือในตลาด นั่นเอง
Related Post
ใกล้เข้ามาแล้วกับคอนเสิร์ตแห่งปีที่ทุกคนรอคอย กับ คอนเสิร์ต Flex 104.5 x DV8 TGIF "THANKS GOD Read more
12 หนุ่ม 789 DEBUT GROUP จาก TADA Entertainment และ SONRAY Read more
แอสตร้าเซนเนก้า พีแอลซี เผยการศึกษาคอกเทลแอนติบอดี ว่ามีประสิทธิภาพแค่ 33% ในการป้องกันอาการโรคโควิด-19 สำหรับคนที่เคยติดไวรัส