site loader
site loader
19/08/2021 สธ.เผยประสิทธิผล “ซิโนแวค-แอสตร้าฯ” ยังป้องกันป่วยรุนแรง-ตายได้ แม้โควิดเปลี่ยนสายพันธุ์

สธ.เผยประสิทธิผล “ซิโนแวค-แอสตร้าฯ” ยังป้องกันป่วยรุนแรง-ตายได้ แม้โควิดเปลี่ยนสายพันธุ์

สธ.เผยประสิทธิผล “ซิโนแวค-แอสตร้าฯ” ยังป้องกันป่วยรุนแรง-ตายได้ แม้โควิดเปลี่ยนสายพันธุ์

วานนี้ 17 ส.ค.2564  กระทรวงสาธารณสุขเผยฉีดวัคซีนโควิดแล้ว 24 ล้านโดส เข็มแรกครอบคลุม 25.5% ของประชากร ผลศึกษาวัคซีนซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิผลป้องกันติดเชื้อ การป่วยรุนแรง และเสียชีวิต แม้โควิด เปลี่ยนเป็นเดลตา

ด้าน นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า คณะทำงานการประเมินประสิทธิผลวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนที่ใช้จริงในประเทศไทยต่อการป้องกันโควิด-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ จากฐานข้อมูลผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด กรมควบคุมโรค ระหว่าง 1 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2564 มีบุคลากรติดเชื้อจำนวน 3,901 คน นำมาทำการศึกษาโดยวิธีจับคู่เปรียบเทียบ 2,790 คน เป็นผู้ติดเชื้อที่ได้รับวัคซีนครบโดส 2,192 คน และผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้รับวัคซีน 598 คน พบว่า ประสิทธิผลของวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ป้องกันการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต 98% ป้องกันการติดเชื้อ 72% เมื่อจำแนกเป็นรายเดือนซึ่งเริ่มพบเชื้อสายพันธุ์เดลตามากขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา จนถึงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคมที่สัดส่วนเชื้อเดลตามากถึง 78.2% พบว่าแนวโน้มประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อยังคงที่ ไม่ได้ต่ำกว่า 70%

สำหรับประสิทธิผลของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขส่วนใหญ่ได้รับในสัดส่วนที่น้อยกว่า พบว่า ประสิทธิผลการป้องกันติดเชื้อสำหรับผู้ที่ได้รับครบ 2 เข็มอย่างน้อย 14 วันอยู่ที่ 96% และรับเข็มเดียวอย่างน้อย 14 วันอยู่ที่ 88%

“วัคซีนที่ใช้ในประเทศไทยขณะนี้ ทั้งซิโนแวคครบ 2 เข็ม แอสตร้าเซนเนก้าที่ฉีดเข็มเดียวหรือครบ 2 เข็ม มีประสิทธิภาพช่วยลดทั้งการติดเชื้อ การป่วยรุนแรง และการเสียชีวิต สามารถใช้ต่อไปได้ โดยปรับเป็นการฉีดสลับชนิดเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันระดับสูงในเวลารวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมผู้สูงอายุที่มีโอกาสป่วยรุนแรงและเสียชีวิตยังค่อนข้างต่ำ จึงขอเชิญชวนทุกคนพาผู้สูงอายุไปฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดการเสียชีวิตจากโควิด-19” นพ.ทวีทรัพย์ กล่าว

Related Post
เตียงโควิด

นายสาธิต ปิตุเตชะ ให้สัมภาษณ์หลังประชุมร่วมกับกรมการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ และ กทม. เรื่องการบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 

TikTok

พล.ต.ต.พุฒิพงศ์ มุสิกูล ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น ได้สั่งการให้มีการตรวจสอบและเรียก นายฐาปะนัน งอสอน อายุ 21 ปีเศษ ที่อยู่ Read more

Covid-19

แฟนเพจ กรุงเทพมหานคร ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า จากที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม. ว่ามีมติผ่อนคลายมาตรการ

19/08/2021 ยายอายุ 70 ไปฉีดวัคซีน แต่หลงกับลูก เดินงงๆ จนได้ฉีดแอสตร้าฯ สองเข็มทั้งซ้ายขวา

ยายอายุ 70 ไปฉีดวัคซีน แต่หลงกับลูก เดินงงๆ จนได้ฉีดแอสตร้าฯ สองเข็มทั้งซ้ายขวา

ยายอายุ 70 ไปฉีดวัคซีน แต่หลงกับลูก เดินงงๆ จนได้ฉีดแอสตร้าฯ สองเข็มทั้งซ้ายขวา

วันที่ 17 ส.ค.64 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากชาวบ้าน ต.สะเดา อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ว่า นายบุญส่ง จูกูล อายุ 49 ปี อาชีพทนายความ เล่าว่า เมื่อวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา ตนได้พาพ่อวัย 70 ปี แม่วัย 70 ปี และอาวัย 65 ปี ไปฉีดวัคซีนเข็ม 2 ที่สนามฟุตบอลช้าง อารีน่า หลังจากได้รับวัคซีน Sinovac เข็มแรก เมื่อวันที่ 24 ก.ค.ไปแล้ว

หลังจากนั้นมาเจอกัน แม่ยิ้มด้วยความดีใจ พร้อมกับบอกตนว่า “แม่ได้ตั้ง 2 เข็ม” ตรวจสอบพบว่าแขนทั้งสองข้างของแม่ มีร่องรอยการฉีดทั้งสองข้าง เมื่อมาสอบถามแม่ มาทราบว่า แม่ได้เดินเข้าช่องรับฉีดวัคซีนตามปกติ ยื่นเอกสารให้หมอ แล้วรับการฉีด จากนั้นแม่อาจจะไม่รู้ว่าจะต้องรอรับเอกสาร แม่ได้เดินไปเก้ๆกังๆ จนหมออีกคนเรียกยายว่า “ยายมาฉีด เดี๋ยวหนูฉีดให้” แม่จึงฉีดซ้ำอีกเข็ม โดยยื่นแขนอีกข้างให้หมอฉีด เพราะข้างหนึ่งฉีดไปแล้ว

นายบุญส่ง กล่าวด้วยว่า หลังจากนั้นตนจึงคอยเฝ้าดูอาการของแม่มาจนถึงวันที่ 17 พบว่าแม่ยังแข็งแรงดี โดยจะมีหมอมาสอบถามอาการเป็นระยะ ตอนนี้เท่ากับแม่ได้รับวัคซีนบูสเตอร์โดสไปแล้ว แต่สิ่งที่ตนจะฝากถึงคือ ผู้ที่จะพาพ่อแม่ที่ชราภาพไปฉีดวัคซีน ให้พึงระวัง อย่าให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ส่วนหมอที่ฉีดวัคซีนให้ถึง 2 เข็มรวด อาจจะเป็นเพราะมีความวุ่นวาย แต่อยากจะให้ละเอียดมากกว่านี้ และอยากฝากบอกว่าวัคซีนที่หายออกจากระบบ 1 โดส มาอยู่กับแม่ไม่ได้หายไปไหน นายบุญส่งกล่าว

ด้าน นางสมหวัง จูกูล อายุ 70 ปี ยายที่ได้รับวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า ถึง 2 เข็ม เล่าว่า ตอนแรกคิดว่าเป็นวิธีการฉีดของหมอ พอมารู้จากลูกชายรู้สึกตกใจเหมือนกัน แต่ตอนนี้ยังปกติ ร่างกายยังแข็งแรงดี

Related Post
ChulaCov19 mRNA vaccine

จุฬาฯ เปิดรับอาสาสมัคร ฉีดวัคซีน ChulaCov19 mRNA กลุ่มสูงวัยเพิ่มเติม ปักเข็มปลายเดือนสิงหาคมนี้

จับตามองพร้อมเปิด ประเด็นใหม่ๆ จากกรณี พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์ ได้เปิดเผยผลการตรวจเลือดพยานบุคคลในเรือ ในคดีแตงโม นิดา

แชคิล โอนีล (Shaquille O'Neal) อดีตนักกีฬาบาสเกตบอลชาวอเมริกันชื่อดัง ได้ออกมาเปิดใจเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวและชีวิตของลูก ๆ ทั้ง 6 คน

19/08/2021 “หมอทหาร” คิดค้น ชุด PPE ปรับอุณหภูมิ นวัตกรรม ใหม่ ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ ที่ร้อนเหงื่อหยดติ๋ง

“หมอทหาร” คิดค้น ชุด PPE ปรับอุณหภูมิ นวัตกรรม ใหม่ ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ ที่ร้อนเหงื่อหยดติ๋ง

 “หมอทหาร” คิดค้น ชุด PPE ปรับอุณหภูมิ นวัตกรรม ใหม่ ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ ที่ร้อนเหงื่อหยดติ๋ง

จากเพจ Wassana Nanuam รายงานเรื่อง นวัตกรรมใหม่จาก “หมอทหาร”  กองพันเสนารักษ์ที่ 5 กองพลทหารราบที่ 5 กองทัพภาคที่ 4 โรงพยาบาลสนามของกองทัพบก ในค่ายเทพสตรีศรีสุนทร อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช มีประสบการณ์ในการช่วยเหลือ ดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ในพื้นที่ มาตั้งแต่มีการระบาดในระลอกแรก เมื่อ เดือนตุลาคม 2562 รองรับผู้ป่วยได้ 300 เตียง

โดยมี “หมอเบิ้ล” พันโท ธนรัฐ ลำจวน ผู้บังคับกองพันเสนารักษ์ที่ 5 คุณหมอทหาร ที่ทำหน้าที่ดูแลโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ ได้คิดค้น นวัตกรรมใหม่ “ชุดผ้ายืดสะท้อนน้ำ” ที่ช่วยลดความร้อน ปรับอุณหภูมิให้กับผู้สวมใส่ ชุด PPE (Personal Protective Equipment )

โดยได้รับการสนับสนุนจาก พลตรีศานติ ศกุนตนาค ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 ที่เห็นความสำคัญของการดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ทุกคน จึงเป็นที่มาของ “ชุดผ้ายืดสะท้อนน้ำ” ที่ถือเป็นนวัตกรรมลดความร้อน ปรับความอุณหภูมิ ให้แก่ผู้สวมใสชุด PPE ด้วยคุณสมบัติของเนื้อผ้าที่สามารถสะท้อนน้ำ ตัดเย็บด้วยตะเข็บพิเศษที่สามารถกันน้ำได้ ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานคุณสมบัติจากสถาบันสิ่งทอ เมื่อนำมาซักและรีด เนื้อผ้าจะมีคุณสมบัติกันน้ำเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังออกแบบคอเสื้อให้มีกรอบยกขึ้นเพื่อการปกปิดที่ดีกว่า

โดยได้นำมาให้เจ้าหน้าที่สวมใส่เป็นชุดปฏิบัติงานภายในหอผู้ป่วย เพื่อช่วยลดความร้อนจากการต้องสวมใส่ชุด PPE ตลอดทั้งวัน และหากต้องไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยก็จะสวมใส่ชุด PPE ทับอีกครั้งตามระดับอาการของผู้ป่วย การสวมชุดผ้ายืดสะท้อนน้ำช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานยังโรงพยาบาลสนามได้เป็นอย่างดี

ขณะนี้ได้ทดลองใช้มาแล้วกว่า 5 เดือน เจ้าหน้าที่ที่ได้สวมใส่ต่างบอกว่าช่วยลดความร้อนได้ดี เพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยระหว่างการปฏิบัติงานได้มากขึ้น

Related Post

น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตน มาตรา 33 ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด

Vaccine Covid 19

NEW YORK TIME เผยข้อมูล สหภาพยุโรป (อียู) มีมติเห็นชอบเมื่อวันพุธ (19 พ.ค.) ให้เปิดพรมแดนแก่นักเดินทางจากภายนอกอีกครั้ง

โค้ชเช

“โค้ชเช”ในฐานะ Head Coach ประจำเทควันโดทีมชาติไทย ก็เตรียมตัวที่จะยื่นขอเอกสาร เพื่อ “โอนสัญชาติ” เพื่อเป็น คนไทยอย่างเต็มตัวแล้ว

17/08/2021 รัฐบาลอนุมัติงบกว่า 9.3 พันล้าน จ่ายค่าวัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้านโดส หาเพิ่มอีก 10 ล้านโดส

รัฐบาลอนุมัติงบกว่า 9.3 พันล้าน จ่ายค่าวัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้านโดส หาเพิ่มอีก 10 ล้านโดส

รัฐบาลอนุมัติงบกว่า 9.3 พันล้าน จ่ายค่าวัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้านโดส หาเพิ่มอีก 10 ล้านโดส

วันที่ 17 สิงหาคม 2564  นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับให้ประชาชนเพิ่มเติมอีก 20 ล้านโดส ซึ่งเป็นส่วนที่เคยลงนามไปแล้ว ซึ่งวันนี้มีการอนุมัติในกรอบวงเงินที่จะต้องนำไปชำระจำนวน 9,372 ล้านบาท แบ่งเป็นการจัดหาวัคซีนประมาณ 8,439 ล้านบาท และค่าบริการจัดการประมาณ 933 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้รับทราบมาว่าจะส่งมอบวัคซีนได้ในไตรมาสที่ 4 ประมาณปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม 2564 โดย ครม. ยังได้รับทราบการจัดซื้อวัคซีนไฟเซอร์เพิ่มเติมอีก 10 ล้านโดส และมอบหมายให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ลงนามกับตัวแทนบริษัทไฟเซอร์ ซึ่งจะทำให้การจัดหาวัคซีนแบบชนิด mRNA ยี่ห้อไฟเซอร์เพิ่มเติมจาก 20 ล้านโดส ซึ่งจะส่งมอบได้ในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ดังนั้นวัคซีนไฟเซอร์จะเข้ามาในประเทศไทยรวมประมาณ 30 ล้านโดส ในไตรมาสสุดท้ายตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป

นอกจากนี้ นายอนุชา ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการจัดซื้อ ซิโนแวคเพิ่มอีก 12 ล้านโดส เพราะการวิจัยและการเก็บข้อมูลมารองรับ เนื่องจากตั้งแต่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการอนุมัติให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แบบไขว้ชนิด ทางประเทศไทยจึงได้เริ่มมีการฉีดวัคซีนแบบไขว้ และมีการเก็บข้อมูล พบว่า ทำให้ภูมิต้านทานขึ้นมาสูงกว่า การฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ถึง 4 เท่า สามารถป้องกันเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าได้อีกด้วย

ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ประเทศไทยจะเริ่มฉีดวัคซีนสูตรไขว้ลักษณะนี้ในผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน ระหว่างรอวัคซีนชนิด mRNA ที่จะมาถึงในช่วงปลายเดือน ก.ย. หรือ ต้น ต.ค.

Related Post

เทรนด์สุขภาพ นับเป็นเรื่องราวอันดับต้นๆ ที่คนเราสนใจ และเทคโนโลยีเองก็พัฒนาไปไกล จนสามารถช่วยให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มทำการทดสอบวัคซีนที่ผลิตโดยคนไทย “ChulaCov19” (จุ-ฬา-คอฟ-ไนน์-ทีน)​ เฟสแรกในมนุษย์

Pfizer

ในการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่โชคดีและสามารถจัดสรรหาวัคซีนได้ครอบคลุมและมากพอต่อความต้องการของประชากร