site loader
site loader
17/08/2021 นักวิจัยจุฬาฯ พัฒนาเครื่องตรวจเชื้อโควิด-19 จากกลิ่นเหงื่อ ต่อยอดจากสุนัขดมโควิด

นักวิจัยจุฬาฯ พัฒนาเครื่องตรวจเชื้อโควิด-19 จากกลิ่นเหงื่อ ต่อยอดจากสุนัขดมโควิด

จากความสำเร็จของ “สุนัขดมโควิด-19” โครงการความร่วมมือระหว่างคณะสัตวแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัทเชฟรอนประเทศไทย สํารวจและผลิต จํากัด ที่ใช้สุนัขดมกลิ่นตรวจเหงื่อเพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการในชุมชน วันนี้ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เผยนวัตกรรมล่าสุด “เครื่องมือตรวจกลิ่นเหงื่อผู้ติดเชื้อโควิดแบบพกพา” (Portable sweat test for COVID detection) หวังเสริมทัพสุนัขดมกลิ่นในการเร่งตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น  โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชฎิล กุลสิงห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงที่มาของการพัฒนานวัตกรรม “จากการศึกษาสารตัวอย่าง เราพบว่าผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะมีสารเคมีบางชนิดที่ชัดเจนมากและแปลกไปจากสารอื่นๆ เราจึงนำข้อค้นพบนี้มาพัฒนาเป็นเครื่องมือตรวจกลิ่น ที่น่าจะมาจากสารอะโรมาติกที่ผลิตจากแบคทีเรียบางชนิดในเหงื่อของผู้ติดเชื้อโควิด ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการตรวจเชื้อโควิด-19 จากสารเคมีเหล่านี้”

กลิ่นเหงื่อในคนอาจมีได้มากกว่า 100 กลิ่น แต่ละคนมีกลิ่นจำเพาะที่ไม่เหมือนกัน แต่สำหรับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 แบคทีเรียจะตอบสนองต่อเชื้อไวรัสอย่างไม่เป็นปกติและผลิตบางกลิ่นที่ต่างออกไป ซึ่งจากการศึกษา เราพบว่ามีหลายกลิ่นสำคัญที่มีลักษณะจำเพาะอาจจะบ่งบอกว่าเป็นกลิ่นของผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19”

ปัจจุบันเครื่องมือตรวจกลิ่นเหงื่อผู้ติดเชื้อโควิดแบบพกพายังอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา แต่ก็ได้ทดลองใช้งานจริงแล้ว โดยทางจุฬาฯ ร่วมมือกับกรมควบคุมโรคและหน่วยงานภาครัฐเข้าไปตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อในแหล่งชุมชนต่างๆ ครั้งนี้เราก็จะสามารถตรวจหาโรคได้ไวมากขึ้นแน่นอน

Related Post
นักศึกษา AI

“หัวจื้อปิง” มิใช่หญิงสาววัยรุ่นวัยเรียนทั่วไป เพราะเธอคือ “นักศึกษาเสมือนจริงที่กำเนิดจากระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ขนานใหญ่” คนแรกของจีน

เดินหน้าสร้างต่อ จูราสสิคพาร์ค ไม่หวั่นคำเตือน บุกบ้านมังกรโคโมโด

เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2564 ในเฟซบุ๊กของกระทรวงการต่างประเทศ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ญี่ปุ่นได้บริจาควัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าให้ไทยเป็นล็อตที่ 3